ReadyPlanet.com
dot
dot
รายการสินค้าต่างๆ
dot
bulletกล่องออฟเซ็ท
bulletกล่องแป้ง(หน้าขาว-หลังเทา)พิมพ์ออฟเซ็ท
bulletกล่องกระดาษลูกฟูกพิมพ์ออฟเซ็ท
bulletกล่องกระดาษอาร์ตพิมพ์ออฟเซ็ท
bulletกระดาษลูกฟูก
bulletกล่องไดคัท
bulletฟรอยด์
bulletฝาฟรอยด์
bulletฝาฟอยด์ปิดถ้วย
bulletฟรอยด์ติดซองยา
bulletซองลามิเนต
bulletซองลามิเนตแบบตั้งได้ (Stand up pouch)
bulletซองลามิเนตแบบซีลกลาง(Center seal pouch)
bulletซองลามิเนตแบบซีล 3 ด้าน
bulletฝาน้ำดื่ม
bulletแคปซีล (Capseal)
bulletฟิล์มหดรัดสินค้า
bulletฉลากฟิล์มหดรัดตัวขวด
bulletฉลากฟิล์มรัดทั้งตัวขวด
bulletฉลากฟิล์มหดรัดคอขวด
bulletแพคโหล
bulletสติ๊กเกอร์
bulletถุงสูญญากาศ
bulletถุงขนมต่างๆ
bulletถาดกำมะหยี่
dot
ความรู้
dot
bulletกล่องออฟเซ็ท
bulletฟรอยด์
bulletฟิล์มหดรัดสินค้า
bulletซองลามิเนต
bulletบลิสเตอร์แพค สกินแพค (Blister pack, Skin pack)
bulletถุงสูญญากาศ
bulletแพคโหล
bulletแคปซีล (Capseal)
bulletบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น
bulletเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
dot
แผนที่
dot
bulletแผนที่โกดัง บริษัท ดิจิตอล กราเวียร์ แพคเกจจิ้ง จำกัด
bulletแผนที่ตั้งบริษัทดิจิตอล กราเวียร์ แพกเกจจิ้ง จำกัด
dot
รับสมัครงาน
dot
bulletนักศึกษาฝึกงาน
bulletนักออกแบบกราฟฟิก(Graphic Desiner)
bulletSale Executive เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
bulletพนักงานโอเปอร์เรเตอร์(Operator)
bulletเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี
bulletเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ และ Telemarketing
bulletผู้จัดการฝ่าย
bulletผู้จัดการฝ่ายการตลาด
bulletช่างเทคนิค
bulletช่างซ่อมบำรุง
bulletผู้ช่วยช่างพิมพ์
bulletช่างพิมพ์กราเวียร์
bulletช่างลามิเนต
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bullet108ideamachines
bullet108ideapackaging
dot
Newsletter

dot
bulletฝาฟรอยด์
bulletBuild your own transformer
bulletขั้นตอนการทำหม้อแปลง
bulletการทดสอบหม้อแปลง
bulletหลักการออกแบบ
bulletPicture
bulletความหมายของ PCB
bulletขั้นตอนการทำแผงวงจรพิมพ์ (PCB) โดยใช้ Dry film
bulletวิธีการทำแผงวงจรพิมพ์ (PCB) โดยใช้แผ่นใส
bulletผลการทดสอบการทำงานของแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)
bulletปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไข
bulletนักศึกษาสามารถนำความรุ้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ?
bulletPicture PCB !!
bulletกล่องออฟเซ็ท
bulletความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
bulletshrink label


ดิจิตอล กราเวีย แพคเกจจิ้ง ผู้นำทางด้านบรรจุภัณฑ์ โดดเด่น ทันสมัย สีสันสวยงาม เพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ
ผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องปั้มฝาถ้วย  ปืนเป่าลมร้อน.....


Build your own transformer

Make the transformer by your self

หม้อแปลงไฟฟ้า

ขอขอบคุณ   อาจารย์ ธวัชชัย ชยาวนิช 

ผู้จัดทำ   :   นางสาวกรกนก กิตติสุพัฒน์  รหัส 50291201 EE 3C 

วัตถุประสงค์  :  บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นความรู้แก่บุคคลที่สนใจในการพันหม้อแปลงไฟฟ้าความรู้ที่ได้จากการทำหม้อแปลงไฟฟ้านี้ได้มาจากอาจารย์

คลิ๊กส์ตามหัวข้อที่ต้องการได้ค่ะ

ความหมายของหม้อแปลง   :    www.108digitalbusiness.com/Build-your-own-transformer.html

หลักการออกแบบหม้อแปลง   :   www.108digitalbusiness.com/design.html

ขั้นตอนการทำหม้อแปลง     :     www.108digitalbusiness.com/process.html 

การทดสอบหม้อแปลง   :   www.108digitalbusiness.com/testing.html

รูปประกอบ   :   www.108digitalbusiness.com/Picture.html

 

ความหมายของหม้อแปลง

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับจากวงจรหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งโดยวิธีทางวงจรแม่เหล็กซึ่งไม่มีจุดต่อไฟฟ้าถึงกันและไม่มีชิ้นส่วนทางกลเคลื่อนที่ โดยทั่วไปเราใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้มีขนาดลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมโดยมีความถี่ไฟฟ้าคงเดิม

 

สัญลักษณ์

โครงสร้างของหม้อแปลง

หม้อแปลงแบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟสแต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย

1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทำหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทำหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า
3. แผ่นแกนเหล็ก (Core) ทำหน้าที่เป็นทางเดินสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและให้ขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
4. ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกับขดลวด
5. แผ่นป้าย (Name Plate) ทำหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
6. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับขดลวด เช่น อากาศ, พัดลม, น้ำมัน หรือใช้ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
7. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลง (Tank) ทำหน้าที่บรรจุขดลวด แกนเหล็กรวมทั้งการติดตั้งระบบระบายความร้อนให้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่
8. สวิตช์และอุปกรณ์ควบคุม (Switch Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย

วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลมหรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็ก หม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียวเพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)

ฉนวน (Insulator)  สายทองแดงจะต้องผ่านการเคลือบน้ำยาฉนวน เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดลัดวงจรถึงกันได้ การพันขดลวดบนแกนเหล็กจึงควรมีกระดาษอาบน้ำยาฉนวนคั่นระหว่างชั้นของขดลวดและคั่นแยกระหว่างขดลวดปฐมภูมิกับทุติยภูมิด้วย ในหม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้กระดาษอาบน้ำยาฉนวนพันรอบสายตัวนำก่อนพันเป็นขดลวดลงบนแกนเหล็ก นอกจากนี้ยังใช้น้ำมันชนิดที่เป็นฉนวนและระบายความร้อนให้กับขดลวดอีกด้วย

แกนเหล็ก (Core)  แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกันหลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่ากระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลายแผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้นเป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell

ขั้วต่อสายไฟ (Terminal)  โดยทั่วไปหม้อแปลงขนาดเล็กจะใช้ขั้วต่อไฟฟ้าต่อเข้าระหว่างปลายขดลวดกับสายไฟฟ้าภายนอก และ ถ้าเป็นหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้แผ่นทองแดง (Bus Bar) และบุชชิ่งกระเบื้องเคลือบ (Ceramic) ต่อเข้าระหว่างปลายขดลวดกับสายไฟฟ้าภายนอก

แผ่นป้าย (Name Plate)  แผ่นป้ายจะติดไว้ที่ตัวถังของหม้อแปลงเพื่อแสดงรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง อาจเริ่มจากชื่อบริษัทผู้ผลิต ชนิด รุ่นและขนาดของหม้อแปลง ขนาดกำลังไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าด้านรับไฟฟ้าและด้านจ่ายไฟฟ้า ความถี่ใช้งาน วงจรขดลวด ลักษณะการต่อใช้งาน ข้อควรระวัง อุณหภูมิ มาตรฐานการทดสอบ และอื่น ๆ

ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า

 การจำแนกหม้อแปลงตามขนาดกำลังไฟฟ้ามีดังนี้
1.ขนาดเล็กจนถึง 1 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณในงานอิเล็กทรอนิกส์  
2.ขนาด 1-1000 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับงานด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก
3.ขนาด 1 kVA -1 MVA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับงานจำหน่ายไฟฟ้าในโรงงาน สำนักงาน ที่พักอาศัย
 4.ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 MVA ขึ้นไป เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับงานระบบไฟฟ้ากำลัง ในสถานีไฟฟ้าย่อย การผลิตและจ่ายไฟฟ้า

นอกจากนี้หม้อแปลงยังสามารถจำแนกชนิดตามจำนวนรอบของขดลวดได้ดังนี้
5.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่ม (Step-Up) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบมากกว่าขดลวดปฐมภูมิ
6.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าลง (Step-Down) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบน้อยกว่าปฐมภูมิ
7.หม้อแปลงที่มีแทปแยก (Tap) ทำให้มีขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้หลายระดับ
8.หม้อแปลงที่ใช้สำหรับแยกวงจรไฟฟ้าออกจากกัน(Isolating)ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบเท่ากันกับขดลวดปฐมภูมิหรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า เท่ากันทั้งสองด้าน
9.หม้อแปลงแบบปรับเลื่อนค่าได้ (Variable) ขดลวดทุติยภูมิและปฐมภูมิจะเป็นขดลวดขดเดียวกัน หรือเรียกว่าหม้อแปลงออโต้(Autotransformer) มักใช้กับการปรับขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าตามต้องการ และสำหรับวาไรแอค(Variac)นั้นเป็นชื่อเรียกทางการค้าของหม้อแปลงออโต้ที่สามารถปรับค่าได้ด้วยการเลื่อนแทปขดลวด
10. หม้อแปลงกระแส(CurrentTransformer:CT)ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ต้องต่อร่วมกันในวงจร เดียวกันแต่ต้องการกระแสไฟต่ำหม้อแปลงกระแสจะทำหน้าที่แปลงขนาดกระแสลงตามอัตราส่วนระหว่างปฐมภูมิต่อทุติยภูมิเช่น 300 : 5 หรือ 100 : 5 เป็นต้น สำหรับหม้อแปลงกระแส 300 : 5 หมายถึงหม้อแปลงจะจ่ายกระแสทุติยภูมิ 5 A หากได้รับกระแสปฐมภูมิ 300 A หม้อแปลงกระแสจะต้องมีโหลดต่อไว้กับ ทุติยภูมิเพื่อป้องกันทุติยภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงในขณะที่ปฐมภูมิมีกระแสไฟฟ้าผ่าน และถ้าหม้อแปลงกระแสไม่ได้ใช้งาน ควรใช้สายไฟลัดวงจรหรือ ต่อวงจรไว้กับขั้วทุติยภูมิด้วย
 

การหาขั้วของหม้อแปลงไฟฟ้า

          ขั้วของหม้อแปลงมีความสำคัญเพื่อจะนำหม้อแปลงมาต่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง การหาขั้วหม้อแปลงมีหลักการทดสอบโดยการต่อขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิอนุกรมกันซึ่งจะทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขั้วเสริมกัน (Additive Polarity) หรือขั้วหักล้างกัน (Subtractive Polarity) ถ้าขั้วเสริมกันเครื่องวัดจะอ่านค่าได้มากกว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหม้อแปลง แต่ถ้าขั้วหักล้างกันเครื่องวัดจะอ่านค่าได้น้อยกว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหม้อแปลง
          การหาขั้วหม้อแปลงมีความสัมพันธ์ระหว่างขั้วแรงเคลื่อนไฟฟ้าด้านสูงและแรงเคลื่อนไฟฟ้าด้านต่ำ เมื่อเราจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับขั้ว H1 และ H2 ส่วนขดลวดที่เหลือคือขั้ว X1 และ X2 สิ่งที่ควรรู้ในการทดสอบคือ อัตราส่วนของแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างปฐมภูมิกับทุติยภูมิและเพื่อความปลอดภัยไม่ควรจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้าทดสอบเกินกว่าขนาดของขดลวดแรงเคลื่อนไฟต่ำ ตัวอย่างเช่น หม้อแปลง 480 / 120จะมีอัตราส่วนของแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างปฐมภูมิกับทุติยภูมิเท่ากับ4ดังนั้นหากจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า120Vให้กับขดลวดปฐมภูมิจะทำให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าด้านทุติยภูมิ 120 / 4 เท่ากับ 30 V ซึ่งจะไม่ทำให้มีแรงเคลื่อนไฟสูงเกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบ







Copyright © 2010 All Rights Reserved.