
ฟิล์มหดนี้มาจากศัพท์เทคนิคว่า “shrink film” ซึ่งเรียกตามคุณสมบัติของฟิล์มนั่นเอง กล่าวคือ มันจะหดตัวเมื่อ ได้รับลมร้อน วัสดุที่ใช้ทำฟิล์มหด ได้แก่ พลาสติกที่โมเลกุลถูกทำให้เรียงตัวกันในระหว่างการผลิตฟิล์ม ชนิดของ
พลาสติกที่นิยมใช้ที่สุดคือพอลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride-PV) และพอลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ
(Low density polyethylene-LDPE) ฟิล์มหดรัดสินค้า คือ PVC ชนิดกึ่งแข็งที่มีน้ำหนักโมเลกุลปานกลาง ใช้ในการผลิตเป็นแผ่นฟิล์มห่อหุ่มผลิตภัณฑ์ มีคุณสมบัติดีในการยืดและหดตัว แผ่นฟิล์มหดนี้ถูกผลิตขึ้นมาจากกระบวนการบดรีด(Calendering) ของแผ่น PVC บางๆหรือการเป่าฟิล์ม (Blown Film) เช่น ฉลากข้างขวดน้ำดื่มต่างๆ

รูปแสดงขวดในลักษณะต่างๆที่ใช้ฟิล์มหดรัดสินค้า
ในการใช้งานมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้ นำฟิล์มดังกล่าวมาทำเป็นถุงแล้วสวมครอบสินค้าอย่างหลวมๆ จากนั้นนำไปผ่านลมร้อนซึ่งได้มาจาก เครื่องเป่าผม ธรรมดาหรือปืนก๊าซหรืออุโมงค์ร้อนก็ได้ ขึ้นกับขนาดของสินค้าและความเร็วที่ต้องการ เป็นผลให้ฟิล์มหดตัวและรัดแน่นกับสินค้าที่สวมอยู่ ปัจจัยในการเลือกใช้ฟิล์มหดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของฟิล์มหดที่ใช้ เป็นหลัก อาทิ ความหนา ความเหนียว ความแข็งแรงของรอยปิดผนึก ความใส
อุณหภูมิในการหดตัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องควบคุมอุณหภูมิของลมร้อนและระยะเวลาที่ผ่านลมร้อนให้เหมาะสมกับ
ชนิดของฟิล์ม การขาดความพิถีพิถัน ในปัจจัยเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดการแตกขาดของฟิล์มหรือการยับย่นแล้ว
ยังมีผลให้สินค้าขาดความเชื่อถือและไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้ออีกด้วย
การบดรีด (Calendering)
กระบวนการบดรีดพีวีซี ใช้เทคนิคที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งต้องมีเครื่องผสมร้อน (Hot mixer) และเครื่องสำหรับหลอมเหลว ดังเช่น เครื่องนวด(Kneading) เพื่อให้ได้สภาวะการผสมการกระจายตัวของสารเคมีรวมทั้งการหลอมเหลวที่สมบูรณ์ จากนั้นพีวีซีที่หลอมเหลวก็จะถูกป้อนผ่านลูกกลิ้งบดรีด (Calender rolls) ออกมาเป็นแผ่นพีวีซี
นอกจากนั้นแล้วแผ่นพีวีซีที่ได้ยังสามารถนำมาปรับสภาพผิว โดยใช้ทั้งวิธีเชิงกล และวิธีเชิงเคมีให้ได้พื้นผิวตามลักษณะที่ต้องการ
กระบวนการบดรีดนี้ใช้ในการผลิตแผ่นพีวีซีชนิดแข็ง แผ่นพีวีซีชนิดนิ่ม แผ่นฟิล์มพีวีซี แผ่นฟองน้ำพีวีซี หนังเทียมพีวีซี และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
.jpg)