อุปกรณ์ที่ใช้
1.Bobbin : ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างสำหรับการพันลวดทองแดงทั้งด้านปฐมภูมิและด้านทุติยภูมิโดยใช้กระดาษกั้นระหว่างสองด้านนี้
2.ลวดทองแดง : โดยสายทองแดงจะต้องผ่านการเคลือบน้ำยาฉนวน เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดลัดวงจรถึงกันได้
3.น้ำยาเคลือบหม้อแปลง : ทำหน้าที่เคลือบหม้อแปลงเพื่อเป็นฉนวนให้กับหม้อแปลง ในการทำในครั้งนี้เราจะใช้ ยี้ห้อวานิช ในการเคลือบหม้อแปลง
4.แกนเหล็ก EI : เราจะใช้แกนเหล็กที่เป็นแผ่นช้อนๆกันเพื่อที่จะลดการเกิดกระแสไหลวนในขดลวด การวางต้องวางช้อนๆกันจนกว่าจะเต็ม
5.แท่นสำหรับพันขดลวดแดง : ใช้ กับแกน Bobbin ช่วยให้การพันลวดทองแดงยึดแน่นกับแกนbobbin มากขึ้น
6.ตู้อบหม้อแปลง
7.ตาชั่ง
8.ประแจ สลิป กรรไกร คีม
ขั้นตอนในการทำหม้อแปลง
1.กำหนดขนาดพิกัดของหม้อแปลง รวมไปถึง Primary voltage , Secondary Voltage ในที่นี้กำหนดเป็น 110/110
2.เมื่อเราทราบขนาดต่างๆในข้อ 1 แล้ว จากนั้นเราจะต้องเลือกขนาดลวดทองแดงที่ต้องใช้ ในที่นี้ใช้ลวดทองแดงSWG22
3.คำนวณจำนวนรอบของลวดทองแดงทั้งด้าน Primary และ Secondary
โดยเลือกค่าMagnetic Flux Density โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1.2-1.5 Tesla แต่ในที่นี้ เลือกค่า B เท่ากับ 1.18 Tesla
4.หลังจากเลือกค่า B ได้แล้ว เราก็จะมาคำนวณจำนวนรอบทั้งทางด้าน Primary และ Secondary จะได้เท่ากับ 348 รอบ
link แสดงวิธีการคำนวณ : หลักการออกแบบหม้อแปลง ...
5.ดำเนินการพันหม้อแปลง
ขั้นตอนที่ 1 : เริ่มจากนำลวดทองแดงที่เตรียมไว้มาใส่ในเครื่องช่วยนับรอบ
ขั้นตอนที่ 2 : ก่อนที่เราจะทำการพันขดลวดทองแดง เราควรจะนำกระดาษหุ้ม bobbin ดังรุปจากนั้นให้เราทำการพันลวดทองแดงตามจำนวนรอบที่เราได้คำนวณไว้ ที่สำคัญควรพันด้าน primary อย่างปราณีต ให้เส้นทองแดงในแต่ละรอบชิดติดกัน เพื่อที่เวลาพันด้าน secondary ลวดทองจะได้ไม่ตกหล่นตามร่อง
ขั้นตอนที่ 3 : เมื่อเราพันด้าน primary เสร็จ ให้เรานำกระดาษมาพันปิดไว้ เพื่อเป็นฉนวนกั้นระหว่างด้าน primary และ secondary เพื่อป้องกันการช้อตถึงกัน
ขั้นตอนที่ 4 : การพันด้าน Secondary ต้องทำเป็น tap พันตามที่คำนวณไว้ ในที่นี้จะทำ tap รอบที่ 272 จะมีไฟออก 24 V รอบที่ 310 มีไฟออก 12 V รอบที่ 320 มีไฟออก 9V รอบที่ 339 มีไฟออก 3V รอบที่ 348 มีไฟออก 110V
ขั้นตอนที่ 5 : หลังจากพันเสร็จก็ให้ใช้กระดาษพันปิดไว้แล้วทำการใส่แกนเหล็กรูปตัว E โดยให้ใส่สลับด้านไปมาให้ใส่ไปเรื่อยๆ จนแน่ใจว่าแน่น ไม่สามารถใส่ได้อีก
ขั้นตอนที่ 6 : จากนั้นก็ให้เราทำการใส่โครงเหล็ก ยึดติดด้วย น๊อตอย่าลืมทำที่ คล้องด้วย
ขั้นตอนที่ 7 : ให้เราทำการเคลือบหม้อแปลงด้วยน้ำยาวานิช โดยราดน้ำยาให้ทั่วทั้งด้านนอกและด้านใน
ขั้นตอนที่ 8 : มาถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การนำหม้อแปลงเข้าตู้อบโดยอบทิ้งไว้ 1 คืน ก็เป็นอันเสร็จ สามารถนำหม้อแปลงมาใช้ทดสอบได้
6.เมื่อเราทำตามขั้นตอนทุกอย่างเสร็จสิ้น เราก็จะมาทำการทดสอบประสิทธิของหม้อแปลง
คลิกส์ดูคลิปการทำหม้อแปลงได้ค่ะ
คลิปการทำหม้อแปลง1
คลิปการทำหม้อแปลง2
ขอขอบคุณ นายจิรพัฒน์ และนาย จรัสพงศ์ ที่ให้การสนับสนุนในการนำคลิปนี้มาเผยเเพร่
คลิ๊กส์ตามหัวข้อที่ต้องการได้ค่ะ
ความหมายของหม้อแปลง : www.108digitalbusiness.com/Build-your-own-transformer.html
หลักการออกแบบหม้อแปลง : www.108digitalbusiness.com/design.html
ขั้นตอนการทำหม้อแปลง : www.108digitalbusiness.com/process.html
การทดสอบหม้อแปลง : www.108digitalbusiness.com/testing.html
รูปประกอบ : www.108digitalbusiness.com/Picture.html