กล่องกระดาษที่เราได้พบเห็นกันในปัจจุบันจะพบได้ว่ามีด้วยกันหลากหลายชนิด กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไว้ใช้สำหรับขนส่งสินค้า มีลักษณะเป็นกล่องกระดาษสี่เหลี่ยม อาจมีสีน้ำตาล สีขาวบ้าง ภายในจะบรรจุสินค้าทีละหลายชิ้นๆเพื่อการขนส่งหรืออาจจะเป็นเพียงชิ้นเดียว ทั้งนี้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของสินค้าที่บรรจุไว้ภายในด้วย เช่น กล่องบรรจุพัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ ทราบกันหรือไม่ว่ากล่องกระดาษเหล่านี้ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งกล่องที่ใช้บรรจุสินค้าเพื่อการขนส่งนี้เราเรียกว่า กล่องกระดาษลูกฟูก( Corrugate Fiberboard Box) สามารถจำแนกออกได้ตามลักษณะของโครงสร้างกระดาษได้ดังนี้
1. แผ่นกระดาษลุกฟูก 1 ชั้น (Single wall) คือ กระดาษที่ประกอบไปด้วยกระดาษ 3 ชั้น
ได้แก่ กระดาษทำผิวกล่อง 2 ด้าน และลอนลูกฟูก 1 แถว อยู่ระหว่างกระดาษทำผิวกล่องทั้ง 2 ด้าน
2. แผ่นกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น ( Double Wall) คือ กระดาษลูกฟูกที่ประกอบไปด้วย
กระดาษทำผิวกล่อง 3 แผ่นและมีลอนลูกฟูก2 แผ่น ระหว่างทำผิวกล่องแต่ละแผ่น
3. แผ่นกระดาษลูก 3 ชั้น (Triple wall) คือกระดาษลูกฟูกที่ประกอบไปด้วย
กระดาษทำผิวกล่อง 4แผ่น และมีกระดาษลอนลูกฟูก 3 แถว ระหว่างกระดาษทำผิวแต่ละแผ่น
ประเภทของลอน (มม.)
|
จำนวนลอน/เมตร
|
ความสูงของลอน
|
ความกว้างของลอน(มม.)
|
A
|
110 – 120
|
4.1 – 5.1
|
8.6 – 9.1
|
B
|
150 – 170
|
2.5 – 3.0
|
6.3 – 6.6
|
C
|
130 – 140
|
3.4 – 4.1
|
7.3 – 8.1
|
D
|
295 – 315
|
1.1 – 1.6
|
3.2 – 3.4
|
กระดาษลอน A
สามารถรับแรงกดในแนวดิ่ง ( ตามความกว้างของลอน ) ได้ดี
เหมาะกับการนำไปทำกล่องที่ต้องมีการเรียงซ้อนกันหลายชั้น
กระดาษลอน B
สามารถรับแรงกดตามความสูงของลอนได้ดี ใช้ทำกล่องบรรจุภัณฑ์หนัก ๆ
กระดาษลอน C
คุณสมบัติอยู่ระหว่างกระดาษลอน A และลอน B
กระดาษลอน D
สามารถรับแรงกดตามความสูงของลอนได้สูงมาก สามารถใช้สำหรับงานพิมพ์หลายสีได้ดี
และนิยมใช้ทำภาชนะเพื่อความสวยงาม หรือภาชนะสำหรับตั้งแสดงสินค้า
คุณสมบัติที่สำคัญของกล่องกระดาษลูกฟูกได้แก่ มิติรวม การต้านแรงดันทะลุ การต้านแรงกดและน้ำหนักรวม ของกระดาษทำผิวกล่อง เป็นต้น
มิติรวม
หมายถึง ผลรวมของความยาว ความกว้าง และความสูงภายในกล่อง มีหน่วย เป็นเซนติเมตร
การต้านแรงดันทะลุ
หมายถึง ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกที่จะต้านแรงดันที่กระทำบนแผ่นทดสอบด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้น อย่างสม่ำเสมอจนทำให้แผ่นทดสอบนั้นขาดทะลุ มีหน่วยเป็นกิโลพาสคัล ค่านี้จะเป็นสมบัติในการบ่งชี้ความเหนียว ของกระดาษที่ใช้
การต้านแรงกด
หมายถึงความสามารถของกล่องในการต้านแรงที่กดทับบนกล่องด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จนกล่องเสียรูป
ข้อดีของภาชนะกระดาษ
1. น้ำหนักเบา ประหยัดค่าขนส่ง และสามารถเก็บในลักษณะพับแบนได้เป็นการประหยัดค่าเก็บภาชนะเปล่าและค่าขนส่ง
2. วัตถุดิบมีหลากหลายชนิด และมีทดแทนได้
3. ขอบข่ายการใช้งานกว้างขวาง ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิด
4. ต้นทุนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับภาชนะประเภทอื่น ยกเว้นบางกรณีที่ต้องการผลิตภาชนะกระดาษเพื่อการใช้งานพิเศษ
5. เหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงาม พิมพ์ได้ง่าย และออกแบบให้มีรูปร่างพิเศษได้สะดวก
6. ไม่มีปัญหาในการกำจัดภาชนะหลังการใช้งาน และสามารถนำมาหมุนเวียนได้
ข้อเสีย ของภาชนะกระดาษ
1. ความทนทานต่อสภาวะอากาศโดยเฉพาะต่อความชื้นหรือน้ำได้ต่ำกว่าภาชนะประเภทอื่น
2. ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ ไอน้ำ และกลิ่นได้ต่ำ
3. ถูกทำลายโดยจุลินทรีย์ แมลง หรือสัตว์ได้ง่าย